บึงเกียดโง้ง : พื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของอาเซียน
บึงเกียดโง้ง ตั้งอยู่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติเซเปียน เมืองปะทุมพอน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว.... เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ มีลักษณะพิเศษที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ที่มีดินทามตมแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในสปป.ลาว ซึ่งเกิดจากภูเขาไฟดับสนิทแล้ว ถูกรับรองตามดำรัสเลขที่ 164/มย. ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2536 มีเนื้อที่ทั้งหมด 6,000 กว่า เฮกตาร์ (Hectares) หรือประมาณ 36,600 ไร่ (56.56 ตร.กม.) พื้นที่ 2 ใน 3 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเซเปียนสามารถคุ้มครองได้ 2,260 เฮกตาร์ (Hectares) โดยมีพื้นที่ล้อมรอบ 35 กิโลเมตร บึงเกียดโง้งมีคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของนก 100 กว่า ชนิด (3 ชนิดเป็นนกหายาก) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการผลิต ช่วยต้านภัยแล้ง น้ำท่วม และมีคุณค่าด้านเศรษฐกิจ อาทิ เกษตรกรรมอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ชุมชน
หมู่บ้านที่อยู่บริเวณรอบบึงเกียดโง้ง จำนวน 12 หมู่บ้าน โดยมีหมู่บ้านที่มีสิทธิ์และนำเอาทรัพยากรธรรมชาติจากบึงเกียดโง้งมาใช้ จำนวน 8 หมู่บ้าน ดังนี้ 1) บ้านทบศอก 2) บ้านพมมะลึก 3) บ้านแกแล 4) บ้านพะโพ 5) บ้านหนองหมากเอก 6) บ้านพะลาย 7) บ้านผักขะ และ 8) บ้านเกียดโง้ง เขตเมืองปะทุมพอน แขวงจำปาสัก มีประชากรประมาณ 11,500 คน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณกันชนติดกับบึงเกียดโง้ง จำนวน 1,400 ครอบครัว ชายจำนวน 7,600 คน หญิง 3,800 คน (โดยแยกเป็นอายุ 15 ลงมาชาย 2,300 คน หญิง 1,700 คน จำนวนครอบครัวยากจน 208 ครอบครัว ปานกลาง 960 ครอบครัวและฐานะดี 250 ครอบครัว บึงเกียดโง้งจึงมีคุณค่าต่อวิถีการดำรงชีวิต ของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว จำนวน 12 หมู่บ้าน 933 ครอบครัว (ร้อยละ 66)
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
ที่มา : ดุษฎีนิพนธ์ระดับปริญญาเอกของ ดร.สุวัฒน์ อุ่นทานนท์